การออกแบบคาเรกเตอร์ตัวละคร


การออกแบบคาเรกเตอร์ตัวละคร

ตัวละคร สามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ประเภทเหมือนกับงานละครทั่วไป คือ มีตัวเอก ตัวรอง และตัวร้ายประเภทของตัวละครนิทานส่วนใหญ่นั้นผู้สร้างตัวละครได้สร้างตัวละครเป็น คน และสัตว์
ขั้นตอนในการสร้างลักษณะของตัวละคร ( Character ) การออกแบบตัวละครมีดังต่อไปนี้
ชั้นที่ 1 : การวางโครงเรื่อง ( Story )
การออกแบบคาแร็คเตอร์ โดยการวิเคราะห์คาแร็คเตอร์จาก บท หรือจาก Concept ขึ้นโครงรูปด้วยการวาดลายเส้นแบบ ฟรีแฮนด์ โดยการหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่จะใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงในการคิดออกแบบตัวละครเพื่อให้ตัวละครมีความสมบูรณ์มากที่สุด ใส่ท่าทางให้กับตัวละคร หลังจากนั้นคือการพัฒนาจากตัวการ์ตูนที่อยู่ในหน้ากระดาษให้อยู่ในคอมพิวเตอร์ด้วยการดราฟลายเส้นที่สำคัญต้องคำนึงว่าตัวละครที่ทำขึ้นมันสูญเสียเอกลักษณ์และเสน่ห์จากต้นเค้าเดิมหรือไม่หรือจากแหล่งที่มาหรือไม่
สคริปต์ ( Script )  เป็นขั้นตอนในการจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องให้ออกมาในแต่หน้า ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบและกำหนดลักษณะนิสัย บุคลิกบทบาทต่างๆและท่าทางการเคลื่อนไหว ให้กับตัวละคร ให้มีชีวิตเหมือนจริง มีการเคลื่อนไหวได้จริงถูกต้องตามธรรมชาติของคน สัตว์ สิ่งของ ต่างๆ โดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานของการออกแบบได้แก่ ขนาด ( Size ) รูปทรง ( Shape ) และสัดส่วน ( Proportion )
ชั้นที่ 2 : บอร์ดภาพนิ่ง เป็นการใช้ภาพในการเล่าเรื่องให้ได้ครบถ้วน ทั้งเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นอารมณ์ในเหตุการณ์นั้นๆสีหน้า ท่าทาง ลักษณะต่างๆ ของตัวละครบอกถึงสถานที่ และมุมมองของภาพ ซึ่งภาพวาดทั้งหมด จะเรียงต่อเนื่องเป็นเหตุผลเดียวกัน เมื่อดูแล้วสามารถเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน การเขียนสตรี่บอร์ด คือการเขียนตัวหนังสือให้ออกมาเป็นภาพบนแผ่นกระดาษ เพื่อให้รู้ว่าตัวการ์ตูนอยู่ในฉากไหน กำลังจะเดินจากไหนไปไหน และจะหยุดคุยกับใคร ว่าอะไร ภาพบนสตอรี่บอร์ดจะเป็นเป็นภาพที่แทนลักษณะตามมุมกล้อง นอกจากความสวยงามแปลกตาของตัวละครแล้ว การเคลื่อนไหวก็เป็นจุดสำคัญอย่างมากที่จะดึงดูดความสนใจของผู้เล่นหรือผู้ชมได้ดี
Step 1 เริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับ Project การทำงาน Cartoon Animation คือการตั้งเป้าหมาย กำหนดรูปแบบ และ Concept ในการทำงาน การวาง Concept งาน และการกำหนดรูปแบบงาน ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการ ออกแบบ Character รวมไปถึงการ Design งานและการทำ Story- board

Step 2 การสร้าง
Step 3 ความรู้เบื้องต้อนในการสร้าง

กระบวนการการออกแบบตัวละคร
นักเขียนการ์ตูน ไม่ว่าจะเป็นแบบสองมิติ จะสร้างสรรค์หรือออกแบบตัวละครการ์ตูนเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ กัน กำหนดเรื่องราวของภาพการ์ตูนที่จะเขียน ร่างภาพลงบนกระดาษแข็งหรือกระดาษเพื่อเขียนภาพจากความทรงจำ จากจินตนาการหรือจากแบบโดยใช้เครื่องมือ เช่น ปากกา พู่กัน เป็นต้น วาดตัวละครการ์ตูนด้วยดินสอในขั้นตอนนี้เรียกว่า Freehand คือการวาดลายเส้นด้วยมือ สเก็ตภาพตัวการ์ตูนด้วย แล้วลงสีจากโปรแกรมการวาดภาพด้วยคอมพิวเตอร์
การจะเริ่มต้นออกแบบคาแร็คเตอร์หรือตัวละครการ์ตูนได้นั้นเริ่มจากการตีโจทย์จากบท สร้างสรรค์คาแร็คเตอร์ของตัวละครนั้นๆ การตีโจทย์หรือนำบทมาศึกษาวิเคราะห์ค้นหาบุคลิกลักษณะของตัวละครส่วนมากมักต้องดูทั้งบุคลิกลักษณะภายนอกและบุคลิกลักษณะนิสัยใจควบคู่กัน คือรูปร่างหน้าตาภายนอกและจิตใจภายในแต่เมื่อเป็นตัวละครแล้วต้องเป็นตัวละครที่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์

สรุปขั้นตอนได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 : การวางโครงเรื่อง ( Story )
 การออกแบบคาแร็คเตอร์ โดยการวิเคราะห์หาคาแร็คเตอร์จากบท หรือจาก Concept โดยการหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่จะใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงในการคิดออกแบบตัวละครเพื่อให้ตัวละครมีความสมบูรณ์มากที่สุดใส่ท่าทางและแอ็คชั่นให้กับตัวละคร หลังจากนั้นคือการพัฒนาจากตัวการ์ตูนที่อยู่ในหน้ากระดาษให้อยู่ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญต้องคำนึงว่าตัวละครที่ทำขึ้นมันสูญเสียเอกลักษณ์และเสน่ห์จากต้นเค้าเดิมหรือไม่หรือจากแหล่งที่มาหรือไม่
คาแร็คเตอร์ดีไซเนอร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการสร้างตัวละครในลำดับต้นๆ สิ่งแรกที่ต้องทำคือดูประเภทของงานก่อนว่างานนี้เป็นงานอะไรหรือการอ่านโจทย์ตัวหนังสือที่ได้มาว่าโครงเรื่องเป็นอย่างไร คือการกำหนด Theme และกำหนด Point ของงานว่าต้องการโครงเรื่องอย่างไร โครงเรื่องจะประกอบไปด้วยการเล่าเรื่องที่บอกถึงเนื้อหาเรื่องราวทุกอย่างทั้งตัวละคร ลำดับเหตุการณ์ ฉาก แนวคิด และที่สำคัญควรพิจารณาว่าการเล่าเรื่องควรจะมีการหักมุมมากน้อยเพียงไร สามารถสร้างความบันเทิงได้หรือไม่และความน่าสนใจนี้สามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกประทับใจ   หลังจากนั้นจะเป็นการโฟกัสที่ตัวละครตัวเอก ตัวละครรอง และตัวละครอื่นๆ ลดหลั่นกันตามความสำคัญและความเกี่ยวข้องกัน ในขั้นตอนของการสร้างหรือดีไซน์ตัวละครแต่ละตัวตัวก็ต้องดูว่าเป็นคนหรือสัตว์ แม้กระทั่งสิ่งของเครื่องใช้ที่มาคู่กับตัวละครนั้นๆ ทุกอย่างต้องดีไซน์ออกแบบให้ด้วย ในขั้นตอนนี้จะมีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลแวดล้อมเกี่ยวกับตัว        ละครนั้นๆ อย่างลึกซึ้งละเอียดจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ ผสมผสานกับจินตนาการ ทั้งจากการศึกษาบทสนทนาของตัวละครเพื่อนำมาตีวิเคราะห์ ยกตัวอย่างดีไซน์พระเอกที่เป็นเป็ด ต้องหา Reference ก่อนว่าเป็ดนี่หน้าตารูปร่างเป็นอย่างไร ตั้งแต่เป็ดที่มันเป็นเป็ดจริงๆ เป็ดที่เป็นการ์ตูนไปแล้ว อะไรเกี่ยวกับเป็ดทั้งหมด ต้องไปหา Reference มาให้ได้มากที่สุดอาจต้องไปดูชีวิตเป็ดจริงๆ Reference มีภาพนิ่ง ภาพจริง เป็นคลิปวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวการเดินของเป็ด การขยับปากหรือว่าแม้แต่เสียง คือเอกสารอ้างอิง แหล่งอ้างอิงทุกอย่างในกระบวนการสร้างหรือดีไซน์ตัวละคร ขั้นตอนการดีไซน์คาแร็คเตอร์
แรงบันดาลใจในการสร้างตัวละคร
ไอเดีย ( Idea ) หรือบางคนอาจใช้คำว่า แรงบันดาลใจ ( Inspiration ) ซึ่งจะเป็นสิ่งแรกที่ สร้างสรรค์จากจินตนาการและความคิดของตนเองว่าผู้ชมควรเป็นใคร อะไรที่ตนเองต้องการให้ผู้ชมทราบภายหลังจากที่ชมไปแล้วควรให้เรื่องที่สร้างออกมาเป็นสไตล์ไหน ซึ่งอาจจะมาจากประสบการณ์ที่ได้อ่านได้พบเห็น และสิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นักออกแบบตัวละครมักกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า แรงบันดาลใจในการสร้างตัวละครสำหรับพวกเขาแล้วมันมาจากทุกที่ ทุกเวลา ทุกสิ่งแวดล้อม ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวของพวกเขาในขณะที่เป็นโอกาสน้อยที่แรงบันดาลใจจะเกิดจากการคิดขึ้นได้เองหรือ จู่ๆไอเดียก็ผุดโผล่ขึ้นมา ณ ช่วยเวลาใดเวลาหนึ่ง ในขณะที่นักออกแบบ สร้างตัวละครบางคนก็ยอมรับว่าในการสร้างตัวละครนั้นพวกเขาต้องแสวงหาแรงบันดาลใจด้วยวิธีการต่างๆนานารวมไปถึงการหาแรงบันดาลใจหนึ่งเฉพาะชิ้นงานนั้นๆคือหมายความว่าเมื่อจะสร้างงานสักชิ้นก็หาแรงบันดาลใจเฉพาะงานนั้นๆในทางตรงกันข้ามแรงบันดาลใจทั่วไปมักเกิดจากประสบการณ์ที่สะสมมา ความชอบและความสนใจเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้คนใกล้ชิด คำพูดสนทนา การอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับการออกแบบการใช้เวลาว่างในร้านหนังสือ แรงบันดาลใจมาจากทุกสิ่งทุกอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น